วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต


การรับประทานผักและผลไม้ในผู้ป่วยโรคไต

            นักกำหนดอาหาร
, สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
เมื่อพูดถึงผักและผลไม้ หลายคนคงทราบดีว่ามีคุณประโยชน์มากมายเพียงใด ยิ่งในระยะหลังมานี้มีการรณรงค์ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีจุดประสงค์หลักก็เพื่อให้ประชาชนคนไทยเห็นความสำคัญและหันมาบริโภคผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น
             ผักและผลไม้อุดมไปด้วย วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีใยอาหารซึ่งช่วยในการขับถ่าย ดักจับไขมัน และป้องกันโรคมะเร็งต่างๆอีกด้วย
แต่ถึงกระนั้นก็ตามแม้ผักผลไม้จะมีประโยชน์เพียงใด แต่หากนักกำหนดอาหารผู้ชำนาญการคนใด หันไปเห็นผู้ป่วยโรคไตกำลังจะหยิบทุเรียนเข้าปาก เธอหรือเขาเหล่านั้นก็คงจะรีบวิ่งหน้าตื่นมาเพื่อห้ามไม่ให้ผู้ป่วยกินของโปรดด้วยความห่วงใย
           ผักและผลไม้มีประโยชน์ก็จริง แต่เนื่องด้วยสภาวะของโรคไตทำให้ผู้ป่วยโรคไตต้องตัดใจที่จะไม่กินหรือกินผลไม้บางชนิดลดลง และเลือกผลไม้อย่างอื่นแทน ทั้งนี้ก็เพราะผักและผลไม้มีส่วนประกอบของโพแทสเซียม โดยเฉพาะในผักผลไม้ที่มีสีเข้มมักมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมในปริมาณมาก
ด้วยความสามารถในการทำงานของไตที่ลดลง ทำให้ผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระดับที่ 4 และ 5 จะขับปัสสาวะได้น้อย ทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (เกินกว่า 5 mg/dl) ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และร้ายแรงอาจถึงขั้นหยุดเต้น (ปริมาณโพแทสเซียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวันประมาณ 1,950-3,120 มิลลิกรัม)
           ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรทำคือ ฟังคำแนะนำจากแพทย์และนักกำหนดอาหารเกี่ยวกับระดับของโรคไตวายเรื้อรังของตนเอง และหากไม่แน่ใจถึงชนิดและปริมาณผักและผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ใน 1 วัน ควรซักถามเพื่อให้เข้าใจ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรที่จะจดบันทึกอาหารอย่างสม่ำเสมอ และเรียนรู้ที่จะเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ก็จะสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้อีกทางหนึ่ง
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่



 เอกสารอ้างอิง
  • 1. ชวลิต รัตนกุล ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ แผนกอายุรกรรม รพ.ตำรวจ. เอกสารประกอบการบรรยาย “เรื่องความรู้เกี่ยวกับโพแทสเซียม” 2548
  • 2. นพ.ทวี ศิริวงศ์ กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 4

อาหารสำหรับลดน้ำหนัก


ยิ่งกินยิ่งลด
……..หนทางแห่งการ ลดน้ำหนัก ที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกาย และ การเลือกกินอาหาร ที่ช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญ และลดความอยาก แล้วอาหารอะไรบ้างที่จะช่วยให้คุณผอมลงได้
พริก ผลการวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่า สารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกช่วยลดการอยากอาหารได้
ถั่วเปลือกแข็ง เช่น วอลนัต อัลมอนด์ แม้ถั่วหนึ่งกำมือจะมีแคลอรีสูงถึง 165 กิโลแคลอรี แต่ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Purdue สหรัฐอเมริกา พบว่า การกินถั่วเปลือกแข็งช่วยกระตุ้นร่างกายให้เผาผลาญดีขึ้นอีก 11 เปอร์เซ็นต์และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจได้ด้วย
เต้าหู้ ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนา สหรัฐอเมริกา พบว่า การกินเต้าหู้ 1 ช้อนโต๊ะ ก่อนกินอาหาร ช่วยลดความอยากอาหารได้ 42 เปอร์เซ็นต์
น้ำส้มสายชูวินิการ์ ผลการวิจัยจากประเทศสวีเดนพบว่า หากกินน้ำส้มสายชูวินิการ์พร้อมมื้ออาหาร กรดอะซิติกในน้ำส้มสายชูจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง จึงอิ่มนานขึ้น
ลูกแพร์ นอกจากจะมีไฟเบอร์สูงแล้ว ผลการวิจัยในบราซิลยังพบว่า ผู้หญิงที่กินลูกแพร์ขนาดเล็กหลังมื้ออาหาร เป็นเวลา 2 เดือน มีน้ำหนักลดลง ½ กิโลกรัม


 อ่านเพิ่มเติมใน นิตยสาร Health & Cuisine

อาหารสำหรับคนท้อง

       
     





              สุดยอดอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาหารธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง
          จัดมื้ออาหารให้เต็มไปด้วยผักและผลไม้สด ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่ว และอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป การรับประทานอาหารที่ใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาตินี้จะทำให้ได้รับสารอาหารจำเป็นหลายชนิดที่มักสูญเสียไปกับกระบวนการแปรรูปอาหาร
อาหารเกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติ
           สารเคมีและยาฆ่าแมลงที่พบในอาหารสามารถผ่านเข้าสู่รกและมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ การเลือกรับประทานอาหารเกษตรอินทรีย์เป็นการลดสารเคมีที่จะเข้าสู่ร่างกาย และที่ดียิ่งขึ้นไปอีกก็คืออาหารเกษตรอินทรีย์มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารทั่วไป

อาหารว่างเพื่อสุขภาพ
        หาถั่วต่างๆ เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วบราซิล และแมคคาเดเมีย ติดบ้านไว้รับประทานเป็นอาหารว่างเพราะถั่วมีโปรตีนสูงและมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ส่วนอาหารว่างที่ดีอื่นๆ ได้แก่ โยเกิร์ตรสธรรมชาติกับผลไม้สด ขนมปังกรอบแบบโฮลวีทกับเนยถั่ว ขนมปังปิ้งกับมะเขือเทศและอาโวคาโด หรือแบ่งเวลาในเช้าวันเสาร์สัก 20 นาทีมาอบขนมมัฟฟินใส่ธัญพืชหอมอร่อยด้วยตัวเองก็เป็นทางเลือกที่ดี 


ผักผลไม้


อาหารทะเล

อาหารอิตาเลียน


ประวัติอาหารอิตาเลี่ยน
          ในบรรดาอาหารของชาติตะวันตกทั้งหมด อาหารอิตาเลียนได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติถูกปากที่สุดจนเป็นที่แพร่หลายรู้จักกันไปทั่วโลกแทบจะไม่มีใครไม่รู้จักพิซซ่า มะกะโรนี หรือสปาเกตตี้ แต่จริงๆแล้ว อาหารอิตาเลียนที่น่าสนใจยังมีอีกมากมาย ดังนั้นจึงควรรู้จักกับอาหารอิตาเลียนให้มากขึ้น
อาหารจานเรียกน้ำย่อยAntipasto (อันติปาสโต)
             คืออาหารจานแรกสำหรับเรียกน้ำย่อย ตามเมืองชายฝั่งหรือเมืองใกล้ทะเล อันติปาสโตมักจะเป็นอาหารทะเลสดรวมหลากชนิด (Frutti di Mare) ส่วนทางตอนในประเทศ อันติปาสโตจะเป็นไส้กรอกเค็มซาลามี หรือแฮมดิบฝานบางๆ รับประทานกับแตงเมลอน หรือผักนานาชนิดชุบแป้งทอดหรือย่างรับประทานกับซอสต่างๆ ส่วนอาหารอีกแบบที่นิยมกันมากคือ Crostini(ครอสตินี่) ซึ่งใช้ขนมปังแผ่นกลมๆเล็กๆ(คล้ายขนมปังฝรั่งเศสหั่นขวาง)ทาหน้าด้วยปลาแองโชวี ตับบด มะกอกบด ฯลฯ หรือขนมปังกระเทียม ซึ่งทาด้วยนำมันมะกอกโรยกระเทียมแล้วนำไปอบพอกรอบ หรืออาจสั่งซุป เช่น ซุปผัก(Minestrone)มาเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยก็ได้
  ของกินเล่นและอาหารว่าง
             คนอิตาเลียนนั้นช่างกินอย่างไม่ต้องสงสัย จึงคิดทำอาหารว่างจุกจิกและของกินเล่นมารับประทานกับกาแฟหรือไวน์เป็นการรองท้องระหว่างมื้อมากมาย ซึ่งบางอย่างก็เป็นอาหารที่ใช้รับประทานในมื้อที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วได้ด้วย เช่น Pizza (พิซซ่า) อาหารชนิดนี้คงรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่อย่าคาดหวังว่าจะเจอพิซซ่าที่ถมเครื่องเครามากมายอย่างในบ้านเรา พิซซ่าที่อิตาลีมักจะเป็นเพียงแผ่นแป้งอบทาซอสมะเขือเทศและมีแฮม ซาลามี มะเขือเทศ และเห็ด วางห่างๆ รวมทั้งแองโชวีโรยอยู่บางๆ จะเน้นก็แต่เนยแข็งที่ละลายยืดเหนียว หากอยากรับประทานพิซซ่าอร่อยๆ ควรจะไปนั่งรับประทานในร้าน โดยเฉพาะร้านที่มีเตาอบดินเผาแบบโบราณหรือร้านที่ขึ้นป้ายว่าชำนาญการด้านพิซซ่า ชนิดของพิซซ่าแบบที่มีจำหน่ายและพบเห็นได้ทั่วไป เช่น 
Frutti di Mare พิซซ่าหน้าอาหารทะเล
Funghi พิซซ่าหน้าเห็ด
Napoletana พิซซ่าทาซอสมะเขือเทศ โรยปลาแองโชวี
Quattro Formaggi พิซซ่าใส่เนยแข็ง 4 อย่าง
Verdura
พิซซ่าเจหน้าผักหลากชนิด 
http://www.luangputuad.com/
 



อาหารญี่ปุ่น





                                    5 อันดับ! อาหารญี่ปุ่นสุดแปลกในสายตาต่างชาติ

               คราวก่อนเคยจัดอันดับอาหารแปลกๆของเมืองไทยมาแล้ว รอบนี้เลยจะพาคุณผู้อ่านไปชมเมนูพิศดารของประเทศญี่ปุ่นกันบ้าง มาดูกันว่าอาหารของใครจะน่ากลัวกว่ากัน


อันดับที่ 10 ตัวปลาเล็กๆ

อันดับที่ 9 ปลาหมึกหมักกับเกลือ


อันดับที่ 8 เนื้อปลาวาฬ
อันดับที่ 7 ท่อเก็บน้ำอสุจิของปลาคอด
อันดับที่ 6 ตัวอ่อนของผึ้ง
อันดับที่ 5 ปลาปักเป้า
ที่มา : marumura.com


อาหารลาว


อาหารพื้นบ้านตำรับหลวงพระบาง

     คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจว่าอาหารก็คืออาหารอีสานของไทย ซึ่งนับว่าคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงมาก โดยทั่วไปแล้วอาหารลาวรสชาติมักไม่ค่อยจัดจ้าน มีรสธรรมชาติมาก เครื่องปรุงรสแต่เดิมใช้เกลือเพียงอย่างเดียว มาปัจจุบันชาวลาวทั้งประเทศนิยมใช้ผงชูรสกันมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติแล้วว่า ไม่ว่าเป็นอาหารใดก็ต้องใส่ผงชูรสไว้ก่อน
เช่นเดียวกับเมืองไทยที่เรื่องวัฒนธรรมการกินอาหารถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค ชาวลาวภาคเหนืออย่างหลวงพระบางก็เช่นกัน จะมีลักษณะและรสชาติอาหารแตกต่างกันจากลาวภาคใตอย่างแถบเมืองปากเซ สะหวันนะเขต หรือแม้แต่ลาวภาคกลางเช่นเมืองเวียงจันทน์ ท่าแขก

     สำหรับอาหารหลวงพระบางซึ่งถือว่าเป็นอาหารภาคเหนือของลาว รสชาติจัดว่าเบาที่สุดในบรรดาอาหารลาวทั้งสามภาค และเนื่องจากหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงของลาวอยู่เป็นเวลานาน แม้แต่ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง มีเมืองหลวงอยู่ที่เวียงจันทน์ แต่พระมหากษัตริย์และราชสำนักยังคงอยู่ที่หลวงพระบาง อาหารแบบหลวงพระบางจึงถูกเปรียบเทียบว่าเป็นอาหารของผู้ดีหรืออาหารชาววัง

     อาหารหลวงพระบางแท้มีรสเบาไม่จัดจ้าน ไม่มีพริกแกง มักไม่ใช้การผัดหรือทอดน้ำมัน แต่ใช้การนึ่ง ต้ม เป็นส่วนใหญ่ วิธีการปรุงง่าย ไม่ซับซ้อน ยกเว้นอาหารของชาววังในราชสำนัก จะมีขั้นตอนและวิธีการปรุงซับซ้อนขึ้น ซึ่งทุกวันนี้อาหารชาววังตำรับหลวงพระบางสามารถหารับประทานได้ตามร้านอาหารบางแห่งในหลวงพระบางและเวียงจันทน์ ดังเช่นอาหารแนะนำซึ่งมีเฉพาะถิ่นของหลวงพระบาง

เอาะหลาม

http://www.mscs.nu.ac.th/webmscs/index.php?name=news&file=readnews&id=207

อาหารภาคใต้


อาหารไทยภาคใต้

          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น
         นอกจากนี้ ยังมีผักหลายชนิดที่คนภาคใต้นิยมรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคใต้ ได้แก่
        
 ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้
          เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์  หรือนำไปดองรับประทาน
กับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้


ผัดสตอใส่กุ้ง

          ลูกเนียง  มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน

อาหารภาคกลาง

อาหารพื้นบ้านภาคกลาง


เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนองบึงมากมาย
จึงเป็นแหล่งอาหารทั้งพืชผักและสัตว์น้ำนานาชนิด พื้นที่บางส่วนติดชายฝั่งทะเลทำให้วัตถุดิบ
ในการประกอบอาหารหลากหลายอุดมสมบูรณ์

แกงเผ็ด



อาหารภาคกลางมีความหลากหลายทั้งในการปรุง รสชาติ และการตกแต่งให้น่ารับประทาน
สืบเนื่องจากการรับและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากภายนอก เช่น จีน อินเดีย ชาวตะวันตก
อีกทั้งอาหารภาคกลางบางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของราชสำนักอีกด้วย

สำรับอาหารภาคกลางมักมีน้ำพริกและัผัีกจิ้ม โดยรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก ลักษณะอาหาร
ที่รับประทานมักผสมผสานระหว่างภาคต่าง ๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง


ห่อหมกปลา
ขนมจีนน้ำยา

อาหารภาคอิสาน


แนวกินบ้านเฮาชาวอีสาน


©  อาหารพื้นเมืองอีสาน
                หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน  หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว   ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ   มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง    เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน   ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น  มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ  และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน  อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน  ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย  ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล  แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด  เค็ม  และเปรี้ยวเครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย  คือ  ปลาร้า  ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน  ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก   ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท   เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา
©  ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน
»ลาบ  เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม  ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่

»ก้อย  เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่  ทานกับผักสดนานาชนิด

»ส่า  เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น

»แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู  คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย  กินกับผักสดตามชอบ  คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง  ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล

อาหารภาคเหนือ

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

                ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักร
แห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน
ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา
ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย
                อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น
น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู
และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล
ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ
พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน
ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

    
     


             อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน
เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง    www.sanaechainam.com