การรับประทานผักและผลไม้ในผู้ป่วยโรคไต
นักกำหนดอาหาร, สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
เมื่อพูดถึงผักและผลไม้ หลายคนคงทราบดีว่ามีคุณประโยชน์มากมายเพียงใด ยิ่งในระยะหลังมานี้มีการรณรงค์ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีจุดประสงค์หลักก็เพื่อให้ประชาชนคนไทยเห็นความสำคัญและหันมาบริโภคผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น
ผักและผลไม้อุดมไปด้วย
วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้ยังมีใยอาหารซึ่งช่วยในการขับถ่าย ดักจับไขมัน
และป้องกันโรคมะเร็งต่างๆอีกด้วย
แต่ถึงกระนั้นก็ตามแม้ผักผลไม้จะมีประโยชน์เพียงใด แต่หากนักกำหนดอาหารผู้ชำนาญการคนใด หันไปเห็นผู้ป่วยโรคไตกำลังจะหยิบทุเรียนเข้าปาก เธอหรือเขาเหล่านั้นก็คงจะรีบวิ่งหน้าตื่นมาเพื่อห้ามไม่ให้ผู้ป่วยกินของโปรดด้วยความห่วงใย
แต่ถึงกระนั้นก็ตามแม้ผักผลไม้จะมีประโยชน์เพียงใด แต่หากนักกำหนดอาหารผู้ชำนาญการคนใด หันไปเห็นผู้ป่วยโรคไตกำลังจะหยิบทุเรียนเข้าปาก เธอหรือเขาเหล่านั้นก็คงจะรีบวิ่งหน้าตื่นมาเพื่อห้ามไม่ให้ผู้ป่วยกินของโปรดด้วยความห่วงใย
ผักและผลไม้มีประโยชน์ก็จริง
แต่เนื่องด้วยสภาวะของโรคไตทำให้ผู้ป่วยโรคไตต้องตัดใจที่จะไม่กินหรือกินผลไม้บางชนิดลดลง
และเลือกผลไม้อย่างอื่นแทน ทั้งนี้ก็เพราะผักและผลไม้มีส่วนประกอบของโพแทสเซียม
โดยเฉพาะในผักผลไม้ที่มีสีเข้มมักมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมในปริมาณมาก
ด้วยความสามารถในการทำงานของไตที่ลดลง
ทำให้ผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระดับที่ 4 และ 5
จะขับปัสสาวะได้น้อย ทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (เกินกว่า 5 mg/dl) ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ
ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และร้ายแรงอาจถึงขั้นหยุดเต้น (ปริมาณโพแทสเซียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวันประมาณ
1,950-3,120 มิลลิกรัม)
ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรทำคือ
ฟังคำแนะนำจากแพทย์และนักกำหนดอาหารเกี่ยวกับระดับของโรคไตวายเรื้อรังของตนเอง
และหากไม่แน่ใจถึงชนิดและปริมาณผักและผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ใน 1 วัน
ควรซักถามเพื่อให้เข้าใจ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรที่จะจดบันทึกอาหารอย่างสม่ำเสมอ
และเรียนรู้ที่จะเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ
และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง
หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ก็จะสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้อีกทางหนึ่ง
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ |
- 1. ชวลิต รัตนกุล ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ แผนกอายุรกรรม รพ.ตำรวจ. เอกสารประกอบการบรรยาย “เรื่องความรู้เกี่ยวกับโพแทสเซียม” 2548
- 2. นพ.ทวี ศิริวงศ์ กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 4